4 วิธีดูแลครรภ์คุณภาพ สำหรับคุณแม่มือใหม่

4 วิธีดูแลครรภ์คุณภาพ สำหรับคุณแม่มือใหม่ 4 วิธีดูแลครรภ์คุณภาพ สำหรับคุณแม่มือใหม่ 4 วิธีดูแลครรภ์คุณภาพ สำหรับคุณแม่มือใหม่

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์คงรู้สึกตื่นเต้นพอ ๆ กับกังวลใจใช่ไหมครับ ไม่ต้อเป็นห่วงไป เพราะการตั้งครรภ์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงทุกคน จึงไม่น่าแปลกที่แม่ ๆ หลายคนจะรู้สึกแบบนั้น วันนี้ผมจะมาแนะนำ 4 วิธี ดูแลการตั้งครรภ์ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ ช่วยให้คุณแม่มือใหม่คลายกังวลและผ่านการตั้งครรภ์ครั้งนี้ไปอย่างราบรื่น ซึ่งหากคุณแม่ท่านไหนที่มีอาการแพ้ท้อง เรามี “เคล็ดลับปราบอาการแพ้ท้อง เตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่ในการรับมือ” มาแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

  1.  การฝากครรภ์สำคัญที่สุด
    เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อให้คุณหมอประเมินและช่วยวางแผนการดูแลขณะตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอด โดยคุณแม่ส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์หรืออัลตราซาวด์ อย่างละเอียด และได้ซักถามข้อสงสัยกับคุณหมอ รวมทั้งได้รับยาบำรุงเลือดที่ปลอดภัยตลอดการตั้งครรภ์อีกด้วย หรือแม้ว่าจะตรวจพบปัญหาขณะตั้งครรภ์ที่พบบ่อย เช่น ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอนั้น จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา เมื่ออยู่ในความดูแลของคุณหมอนั่นเองครับ
  2. ใส่ใจเรื่องการทานอาหาร
    เพราะการทานอาหารที่มีประโยชน์มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ เพราะอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปจะช่วยบำรุงทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ ดังนั้นการเลือกทานอาหารจึงสำคัญมาก อันดับแรกคุณแม่ต้องทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และทานยาบำรุงเลือดอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เช่น ผลไม้สุกรสหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เป็นต้น เพิ่มเติมทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผักใบเขียวให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มอาหารที่คนไทยทานไม่เพียงพอ สำหรับอาหารที่ไม่แนะนำให้ทานขณะตั้งครรภ์นั้น อาทิเช่น ปลาดิบ ผักสด ของหมักของดอง เป็นต้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันในคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนแอลง อาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้ นอกจากนี้แนะนำให้ควบคุมการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ให้อยู่ที่ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรืออาจจะน้อยกว่านี้ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
  3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
    หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ จริง ๆ แล้วมีหลักการง่าย ๆ คือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้เหมือนกับช่วงเวลาก่อนการตั้งครรภ์ แต่ต้องระวังการบาดเจ็บหรือพลัดตกหกล้มมากขึ้น เช่น คุณแม่ที่เคยว่ายน้ำเป็นประจำก็ยังคงว่ายน้ำได้เช่นเดิม คุณแม่ที่เคยเล่นโยคะก็ยังเล่นโยคะได้เช่นเดิม แต่อาจจะต้องจำกัดการเล่นในบางท่า เป็นต้น สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำในระยะก่อนตั้งครรภ์ ผมแนะนำให้ ‘เดิน’ เป็นวิธีการออกกำลังกายหลัก จะเดินเล่นในบ้าน รอบบ้าน หรือแม้แต่เดินชอปปิ้งตากแอร์เย็น ๆ ในห้างสรรพสินค้าก็ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีบางภาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อาจต้องปรึกษาคุณหมอก่อน เช่น ตรวจพบว่าเป็นครรภ์แฝด รกเกาะต่ำ หรือมีภาวะน้ำคร่ำรั่ว เป็นต้น
  4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี
    อย่างที่บอกไปในข้างต้นว่าการตั้งครรภ์นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของคุณแม่มือใหม่ ดังนั้นการมีสุขภาพใจที่ดีจะช่วยลดความเครียดขณะตั้งครรภ์และส่งเสริมให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีความสุข ซึ่งการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต้องอาศัยสมาชิกในครอบครัวคนสำคัญคือ คุณสามี ที่จะช่วยสร้างความสุขเล็ก ๆ ให้คุณแม่มือใหม่ เช่น การเปิดเพลงเพราะ ๆ เบา ๆ , หาอาหารที่มีประโยชน์ให้คุณภรรยาทาน การช่วยหรือสนับสนุนกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ขณะอยู่บ้าน การพาออกไปเที่ยวหรือแม้แต่การพาไปฝากครรภ์ เรื่องเหล่านี้ล้วนสร้างสารแห่งความสุขและส่งต่อไปถึงเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในครรภ์ได้เช่นกันครับ

เพราะการตั้งครรภ์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หวังว่า 4 วิธีข้างต้นจะเป็นข้อแนะนำง่าย ๆ ที่คุณแม่มือใหม่และครอบครัวสามารถทำได้ ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนผ่านประสบการณ์การตั้งครรภ์อย่างมีความสุขและขอให้เจ้าตัวน้อยในครรภ์แข็งแรงครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอตั้ว (นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์)

ซึ่งหากคุณแม่คนไหนที่ทยอยซื้อของใช้ให้เจ้าตัวน้อย ไม่ควรลืมของจำเป็นที่ลูกต้องใช้อย่าง ‘ผ้าอ้อมเบบี้เลิฟ อีซี่เทป’ ที่ซึมซับดีเยี่ยมและมีทริปเปิ้ลล็อก 3 ขั้น* ช่วยป้องกันการรั่วซึมรอบด้าน ตัวช่วยที่จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่ได้ดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างคลายกังวล

ตามไปช้อปผ้าอ้อมที่ออกแบบเพื่อเบบี๋แรกเกิดโดยเฉพาะได้ที่ BabyLove Online Shop

*แผ่นซึมซับ ขอบขาตั้ง และยางยืดโอบกระชับรอบตัว ป้องกันการรั่วซึม

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.