แม่ต้องรู้! ‘โรคปอดบวม’ ในเด็กที่มาพร้อมลมหนาว

แม่ต้องรู้! ‘โรคปอดบวม’ ในเด็กที่มาพร้อมลมหนาว แม่ต้องรู้! ‘โรคปอดบวม’ ในเด็กที่มาพร้อมลมหนาว แม่ต้องรู้! ‘โรคปอดบวม’ ในเด็กที่มาพร้อมลมหนาว

โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบในเด็ก อีกหนึ่งโรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว เป็นโรคอันตรายที่เกิดจากการติดเชื้อที่ปอดทำให้ปอดเกิดการอักเสบ หากเจ้าตัวน้อยบ้านไหนมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีโรค ‘ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A’ ในเด็ก ที่คุณแม่ต้องระวัง! อีกด้วยนะคะ และวันนี้คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบกันให้มากขึ้น

โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

- โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบที่จากการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่วนเชื้อราและพยาธิพบได้น้อย โดยในอดีตยังไม่สามารถตรวจหาเชื้อที่เป็นต้นเหตุได้ จึงมักเรียกรวมว่าเป็นโรคปอดบวม แต่ในปัจจุบันคุณหมอสามารถตรวจหาเชื้อได้ง่ายมากขึ้น จึงทำให้ทราบชื่อเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคปอดบวมได้มากขึ้น

  • เชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กโดยเฉพาะ ได้แก่ RSV , ไข้หวัดใหญ่ influenza A/B , hMPV , Parainfluenza , Rhinovirus เป็นต้น
  • เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) , Gr.A Streptococcus , เชื้อฮิบ (Haemophilus influenzae type B) หรือเชื้อไมโคพลาสมา(Mycoplasma pneumoniae) ที่ปัจจุบันพบการติดเชื้อนี้บ่อยมากขึ้น

- โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อที่พบได้บ่อย เช่น การสำลักอาหาร หรือเกิดการระคายเคืองจากสารที่สูดดมควันหรือสารเคมีต่าง ๆ เข้าไปนั่นเองค่ะ

เด็กกลุ่มไหนบ้างที่เสียงเป็น โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ

  • เด็กที่อายุน้อย ต่ำกว่า 2 ขวบ
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่เกิด
  • เด็กที่มีภาวะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางสมอง โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต เป็นต้น
  • เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด
  • เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง

โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ติดต่อกันได้ยังไงบ้าง?

เจ้าโรคนี้สามารถติดต่อผ่านทางการหายใจ ซึ่งเกิดจากการสูดหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อปนอยู่ในละอองฝอยขนาดเล็กเข้าไปในปอดโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสนามเด็กเล่น ในห้องแอร์ที่มีเด็กไปรวมกันเป็นจำนวนมาก และบางครั้งเด็กอาจมีเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อได้ จึงต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

ชวนเช็กอาการ โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ในเด็ก สังเกตอย่างไร?

  • มีไข้ โดยอาจมีไข้สูงหนาวสั่น หรือมีเพียงไข้ต่ำ ๆ ก็ได้
  • เจ้าตัวน้อยมีไอมาก กระสับกระส่าย หายใจเหนื่อยหอบ
  • เจ็บหน้าอก
  • ลูกดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • บางครั้งอาจมีอาการอาเจียน ปวดท้องเพียงอย่างเดียวนำมาก่อนก็ได้เช่นกัน

การป้องกันเจ้าตัวน้อยให้ห่างไกลจาก โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในสถานที่ที่แออัด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย ไอ จาม หรือมีน้ำมูก
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยให้ลูกเมื่อต้องพาเค้าไปในที่แออัด
  • จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานผักและผลไม้เป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงให้เจ้าตัวน้อยอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ
  • หมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนทานอาหาร
  • ให้ลูกหยุดเรียนเมื่อมีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) วัคซีนป้องกันโรคไอกรน (Pertussis) วัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มนิวโมคอคคัส (IPD) หรือฮิบ (Hib) วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรง

การดูแลเจ้าตัวน้อยในเบื้องต้น

โรคปอดอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อย และบางครั้งในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้ ดังนั้นหากสงสัยว่าลูกน้อยเริ่มมีอาการของโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบติดเชื้อ ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

คุณหมอจะมีวิธีการดูแลรักษาโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบในเด็ก ดังนี้…

- การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มียาจำเพาะในการฆ่าเชื้อไวรัส ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะในกรณีที่ลูกมีเสมหะเหนียว พ่นขยายหลอดลมถ้ามีเสียงหลอดลมตีบ ให้ออกซิเจน เคาะปอดเพื่อช่วยระบายเสมหะให้ถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น หากมีภาวะหายใจลำบากหรือรุนแรงขึ้น คุณหมออาจพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจผ่านทางหน้ากากหรือใส่ท่อหลอดลม

- การรักษาแบบเฉพาะตามเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุ เช่น ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อโรคต้นเหตุของโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ

 

ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ .

สุขภาพก็ต้องใส่ใจ ส่วนเรื่องการขับถ่ายให้ ‘เบบี้เลิฟ เพลย์แพ้นท์ พรีเมียม’ สูตรใหม่! ช่วยดูแล เพราะรุ่นนี้ซึมซับไวขึ้นถึง 150%* แห้งไว สบายทันที ลูกใส่แล้วสบายตัว ไม่มีงอแง 

ตามไปสัมผัสผ้าอ้อมคุณภาพพรีเมียม ในราคาไม่แรงได้ที่ BabyLove Online Shop

*เปรียบเทียบกับสูตรก่อนหน้า

ติดตามเราได้ที่ :

Facbook Babylove Youtube Babylove IG Babylove subscribe

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.