Unique Trap Code 8392

ทำความรู้จัก โนโรไวรัส (Norovirus)

ทำความรู้จัก โนโรไวรัส (Norovirus) ทำความรู้จัก โนโรไวรัส (Norovirus) ทำความรู้จัก โนโรไวรัส (Norovirus)

‘โนโรไวรัส’ (Norovirus) คือ อาการติดเชื้อท้องเสียที่ระบาดกันมากในเด็กเล็ก มีต้นเหตุจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้เจ้าตัวน้อยเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ในกระเพาะและลำไส้ ทำให้ลูกท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลว อาเจียน เป็นต้น และคุณพ่อคุณแม่มือใหม่รู้ไหมคะว่า อุจจาระของทารกแรกเกิดสำคัญกว่าที่คิด https://babylove.co.th/baby-tips/newborn-baby-poop ซึ่งอาการของเจ้าโนโรไวรัสนั้นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของอาหารเป็นพิษ ดังนั้นเราควรรู้เท่าทันเจ้าไวรัสตัวร้ายชนิดนี้ ก็จะช่วยให้สามารถดูแลเจ้าตัวน้อยพร้อมรับการรักษาอย่างทันท่วงที

ทำความรู้จัก ‘โนโรไวรัส’

  • ทนทานต่อความร้อน น้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ ทำให้ไม่สามารถที่จะฆ่าเชื้อโนโรไวรัสได้
  • ไวรัสชนิดนี้ยังระบาดได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว แม้จะเกิดการปนเปื้อนของโนโรไวรัสในอาหารและน้ำดื่มเพียงปริมาณเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ โดยมักติดต่อจากการปนเปื้อนในอาหาร และน้ำดื่ม
  • สามารถเกิดการระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ติดต่อได้ง่ายในสภาพอากาศเย็น
  • ทำให้เกิดโรคทั้งในเด็กและผู้ใหญ่​

เช็กอาการ ‘โนโรไวรัส’ เชื้อโนโรไวรัสมีระยะฟักตัวสั้น 12-48 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย โดยอาการนั้นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของอาหารเป็นพิษ ซึ่งอาการของโนโรไวรัสที่พบได้บ่อย คือ

  • ​ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลว หรือ ถ่ายเป็นน้ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียนมาก
  • ปวดท้อง
  • มีไข้ อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายอาการไข้หวัดใหญ่ บางคนจึงเรียกว่า stomach flu
  • มีอาการขาดน้ำ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งอาจรุนแรงมากจนมีอาการช็อคได้

โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะหายได้เองภายใน 48-72 ชั่วโมง ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่จำเพาะเจาะจงต่อเชื้อโนโรไวรัสเท่านั้น ดังนั้นถ้าหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อโนโรไวรัส เช่น มีประวัติคนใกล้ชิดป่วยด้วยอาการเช่นเดียวกันหลายคน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ ซึ่งคุณหมอจะทำการส่งตรวจอุจจาระทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อโนโรไวรัสให้ค่ะ

‘โนโรไวรัส’ ติดต่อกันได้อย่างไรบ้าง?

  • เกิดจากการทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนเชื้อ เช่น จาน ชาม ช้อน โดยเชื้อโนโรไวรัสนั้นมักพบได้บ่อยในน้ำดื่ม น้ำแข็ง ผักผลไม้สด ที่มีการปนเปื้อน
  • การจับหรือสัมผัสกับสิ่งของที่มีเชื้อโนโรไวรัสเข้าปากโดยตรง
  • การสัมผัสกับอาเจียน หรืออุจจาระของผู้ป่วย

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อ ‘โนโรไวรัส’ให้เจ้าตัวน้อย ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโนโรไวรัส รวมถึงยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ และโรคนี้ก็ยังติดต่อได้ง่ายและเร็ว จึงมักเกิดในสถานที่สาธารณะที่มีคนหมู่มากแล้วใช้ของด้วยกัน เช่น โรงอาหาร ห้องน้ำ เป็นต้นฯ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ดังนี้…

  • ล้างมือลูกให้สะอาดก่อนและหลังทานอาหาร
  • ให้ลูกทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ทานอาหารร้อน และใช้ช้อนกลาง
  • ล้างผัก และผลไม้ ให้สะอาดก่อนให้ลูกทาน
  • หลีกเลี่ยงน้ำและอาหารที่ไม่สะอาด เพราะเชื้อจะสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในน้ำได้นาน


​การดูแลเมื่อเจ้าตัวน้อยเจ็บป่วย

  • เมื่อลูกน้อยป่วยจากการติดเชื้อโนโรไวรัส ควรให้แยกตัวเพื่อดูแลอาการที่บ้าน งดไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก จนกว่าอาการดีขึ้นเป็นปกติ คือ หลังจากหยุดอาเจียน ท้องเสียแล้ว 48 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ
  • คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่ดูแลลูกน้อยควรหมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสัมผัสอาหาร และหลังจากการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือทำความสะอาดห้องน้ำ
  • หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่เกิดติดเชื้อโนโรไวรัสตามมา ควรอยู่ห่างจากบุคคลอื่น ๆ จนกว่าอาการท้องเสียและอาเจียนเริ่มหายไปหมดแล้วอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เช่นเดียวกัน และควรงดการประกอบอาหาร เพราะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้หลังจากมีอาการเป็นระยะเวลา 3 วัน
  • ควรแยกของใช้ส่วนตัว ช้อน ส้อม และเครื่องใช้ในบ้านของผู้ป่วยจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้าน

การทำความสะอาด เนื่องจากโนโรไวรัสมีความทนทานต่อทั้งความร้อน น้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ รวมถึงแอลกอฮอล์ 70% ก็ไม่สามารถทำลายเชื้อโนโรไวรัสได้ การทำความสะอาดในเบื้องต้นที่สามารถทำได้มีดังนี้…

  • ทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอรีน 1,000-5,000 ppm หรือ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือใช้น้ำผสมน้ำยาซักผ้าขาว เช่น ไฮเตอร์ครึ่งฝาผสมในน้ำ 500-600 ซีซี ควรสวมถุงมือยางชนิดใส่ครั้งเดียวทำความสะอาดอุปกรณ์ และสิ่งของ รวมถึงพื้นผิวต่าง ๆ ในสถานที่ที่มีการปนเปื้อน รวมทั้งเสื้อผ้าขยะติดเชื้อ เช่น ผ้าเปื้อนอาเจียนหรืออุจจาระ โดยแช่ทิ้งไว้ 30 นาที
  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูปหลังจากแช่น้ำยาซักผ้าขาวแล้ว ให้แยกใส่ถุงขยะ 2 ชิ้น และรัดปากถุงให้แน่นใส่ในถังขยะ และจัดเก็บเป็นขยะติดเชื้อ
  • ทำความสะอาดโถชักโครกให้สะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอรีน 1,000-5,000 ppm โดยจุดสำคัญที่ต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษ คือ ที่จับสายฉีดน้ำ พื้นห้องน้ำ ที่รองนั่งชักโครก ที่กดน้ำของชักโครก ก๊อกน้ำ และกลอนประตู
  • ทิ้งเศษอาเจียนและอุจจาระอย่างระมัดระวังโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซับไม่ให้มีการฟุ้งกระจาย และทิ้งลงในถุงพลาสติก แล้วเช็ดทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของคลอรีน
  • ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ แยกเสื้อผ้าคนป่วยซักต่างหาก และต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็วหรือทิ้งในที่ที่เหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ติดตามเราได้ที่ :

Facbook Babylove Youtube Babylove IG Babylove subscribe

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.