1.ต้องดูจาก ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ดูแต่น้ำหนักของเด็กอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเทียบกับความสูงด้วย เพราะน้ำหนักอาจจะเกินแต่ถ้าตัวสูงแล้ว เทียบน้ำหนักกับความสูง อาจเป็นปกติ ไม่อ้วน
2.เมื่อไรคืออ้วน
- ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) นำไปเปรียบเทียบกับกราฟ BMI แยกตามเพศและอายุ ถ้าเกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85-95 ของเกณฑ์ถือว่าอยู่ในระยะอวบ แต่ถ้าเกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95
- หาน้ำหนักที่ควรจะเป็น ของความสูงนั้น โดยดูจากกราฟ weight for height แล้วมาคำนวณว่าน้ำหนักลูก เกินกว่าน้ำหนักที่ควรจะเป็นอยู่กี่เปอร์เซ็นต์
กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาวของเด็กอายุแรกเกิด - 2ปี (เพศชาย)
กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาวของเด็กอายุแรกเกิด - 2ปี (เพศหญิง)
3.เด็กอ้วนไม่ใช่เด็กน่ารัก เด็กอ้วนนั้น จะมีปัญหาสุขภาพทุกอย่างเหมือนผู้ใหญ่ ทั้งเบาหวาน ความดันสูง นอนกรน หยุดหายใจ โรคหัวใจ ไขมันเกาะตับ มีปัญหากระดูก ขาโก่ง มีปัญหาสุขภาพจิต ซึมเศร้า โดนเพื่อนล้อ เพื่อนแกล้ง ขาดความมั่นใจในตัวเอง
4.โตขึ้นแล้วจะผอมเอง ไม่จริงเสมอไป มีเพียงบางคนเท่านั้นที่พอเข้าวัยรุ่นแล้วหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลัง จึงผอมลงมาได้ แต่บางส่วน ยังติดนิสัยการกินแบบเดิม ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ จึงกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนในอนาคตต่อไป
5.ต้องเปลี่ยนทั้งครอบครัว เพราะเด็กจะมีพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตตามผู้ใหญ่ในบ้าน พ่อแม่จึงควรมีพฤติกรรมการกินที่ดีเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูก
- ป้องกันโรคอ้วนด้วยวิธีง่ายๆ
- ฝึกดื่มน้ำเปล่าและนมจืด หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน ควรทานผลไม้สดแทนน้ำผลไม้
- ฝึกนิสัยการกินที่ดีแต่เล็ก กินเป็นเวลา ไม่กินจุบจิบทั้งวัน กินคำเล็กๆ เคี้ยวช้าๆ
- ไม่มีขนมติดไว้ในบ้าน ควรติดเป็นผลไม้หวานน้อย เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ไว้แทน
- รับประทานอาหารในบ้านกันทั้งครอบครัว ไม่ออกไปทานอาหารนอกบ้านบ่อยๆ
- ฝึกแต่เล็ก ไม่ติดหวานมัน ฝึกทานอาหารต้มนึ่ง รสไม่จัด
- ไม่ใช้ขนมมาเป็นรางวัล
- พาออกไปเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่นั่งนอนติดหน้าจออยู่กับบ้าน
- เข้านอนแต่หัวค่ำ
- ฝึกทานผักผลไม้
เพียงเท่านี้ ทุกคนในบ้านก็จะมีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคอ้วนและโรคที่ตามมากับความอ้วนแล้วค่ะ
บทความจาก พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วันที่สร้าง 23/11/2018