‘อะดีโนไวรัส’ (Adenovirus) เชื้อโรคที่ชื่อไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ ซึ่งเจ้าเชื้อนี้ไม่ใช่เชื้ออุบัติใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเชื้อไวรัสที่มีมานานแล้ว และมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นระยะ ๆ ในปัจจุบันก็สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ดีมากขึ้น ทำให้สามารถตรวจพบเชื้อนี้ได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน โดยการป้าย swab จากจมูกและคอ หรือตรวจเชื้อจากอุจจาระ และในช่วงหน้าฝนนี้ต้องระวัง!! ‘เฮอร์แปงไจน่า’ โรคระบาดในเด็ก” กันด้วยนะคะ
ทำความรู้จัก ‘อะดีโนไวรัส’ (Adenovirus)
เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เดือน - 5 ปี รวมถึงเจ้าตัวน้อยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
การติดเชื้อ ‘อะดีโนไวรัส’ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง มาดูกันค่ะ
- การสูดหายใจเอาละอองน้ำมูก หรือเสมหะที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปโดยตรงจากการไอจามใส่กัน
- ติดต่อกันได้จากการสัมผัสเชื้ออะดีโนไวรัสที่ติดอยู่ตามผิวสัมผัสต่าง ๆ เช่น ของเล่นหรือของใช้เด็ก
- การทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้ออะดีโนไวรัส
เชื้ออะดีโนไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 30 วัน ตามพื้นผิวสิ่งแวดล้อม และไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยแอลกอฮอล์ ต้องใช้ความร้อน สบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ในการกำจัด โดยทั่วไปเชื้อจะถูกทําลายด้วย…
- ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที
- รังสีอัลตราไวโอเลต
- ผงโซเดียมโดเดซิลอัลเฟต 0.25%
- คลอรีนที่ความเข้มข้น 0.5 (mg/l)
- สารเคมีฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และสารฟอกขาว (bleach)
คุณหมอชวนเช็กอาการ ‘อะดีโนไวรัส’
อาการของ ‘อะดีโนไวรัส’ มักจะมีไข้สูง 39 - 40 องศา โดยสามารถมีไข้สูงได้นานถึง 4 - 7 วัน และมีอาการอื่นร่วมด้วยได้ในหลายระบบของร่างกายเจ้าตัวน้อย
- ระบบทางเดินหายใจ : เจ้าตัวน้อยจะมีอาการ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ เสียงแหบ นอนกรน คัดจมูก ปวดหู หูอื้อ กลายเป็นหูอักเสบหรือไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
- ระบบทางเดินอาหาร : มีอาการถ่ายเหลว อาเจียน ปวดท้อง
- การติดเชื้อที่ตา : เจ็บตา ตาแดงอักเสบ มีขี้ตา น้ำตาไหล หนังตาบวม
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ : ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด
โดยลูกน้อยอาจมีอาการได้ตั้งแต่เป็นไข้หวัดเพียงเล็กน้อยแล้วหายได้เองใน 1 - 2 วัน จนถึงไข้สูงมาก หอบเหนื่อย อาเจียนท้องเสียรุนแรงมาก
การรักษา ‘อะดีโนไวรัส’
เนื่องจากเชื้ออะดีโนไวรัส ไม่มียารักษาจำเพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ ดังนี้
- การให้ยาลดไข้ เนื่องจากลูกน้อยจะมีอาการไข้สูงมากและอาจยาวนานหลายวัน จึงต้องให้ยาลดไข้อย่างต่อเนื่องจนกว่าไข้จะลดลง
- การให้สารน้ำทดแทน เพื่อป้องกันการขาดน้ำจากไข้ และอาการอาเจียน ท้องเสีย
- รักษาอาการของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากจะมีอาการคัดจมูก นอนกรน หายใจไม่สะดวก เช่น ใช้ยาแก้คัดจมูก พ่นยา ดูดเสมหะ หรือให้ออกซิเจน
วิธีป้องกันการติดเชื้อ ‘อะดีโนไวรัส’
- วิธีป้องกันการติดเชื้ออะดีโนไวรัสที่ดีที่สุด คือ การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่
- รักษาความสะอาดพื้นผิวสัมผัสภายในบ้าน เช่น ทำความสะอาดของเล่นลูก เช็ดโต๊ะ เช็ดเก้าอี้ หรือของใช้ต่าง ๆ ที่ลูกหยิบจับเข้าปาก
- หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในแหล่งชุมชนที่มีคนแออัด
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ที่มีอาการป่วย
- ปิดปากและจมูกด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษเวลาไอหรือจาม
ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ .
ดูแลเรื่องสุขภาพกันไปแล้ว อย่าลืมดูแลเรื่องสุขอนามัยในการขับถ่ายของเจ้าตัวเล็ก หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมทุก ๆ 2-3 ชม. และเลือกใส่ผ้าอ้อมที่แห้งสบายทันที ไม่อับชื้น ซึมซับไวขึ้นถึง 150%(3) ด้วยแผ่นซูเปอร์ ดราย ไดมอนด์ ชีท เราขอแนะนำ ‘ผ้าอ้อมเบบี้เลิฟ เพลย์แพ้นท์ พรีเมียม’ สูตรใหม่! ตามไปสัมผัสผ้าอ้อมที่แห้งไวสบายทันที แบบได้ส่วนลดและของแถมฟรี! ที่ BabyLove Online Shop
(3) เปรียบเทียบกับสูตรก่อนหน้า
วันที่สร้าง 27/06/2024