หมอเตือนภัย! 'แมลงก้นกระดก' วายร้ายที่ลูกน้อยต้องระวัง

หมอเตือนภัย! 'แมลงก้นกระดก' วายร้ายที่ลูกน้อยต้องระวัง หมอเตือนภัย! 'แมลงก้นกระดก' วายร้ายที่ลูกน้อยต้องระวัง หมอเตือนภัย! 'แมลงก้นกระดก' วายร้ายที่ลูกน้อยต้องระวัง

ในช่วงที่กำลังเข้าฤดูฝน นอกจากโรคไข้หวัดที่อาจทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้มากขึ้นแล้ว ก็ยังมีภัยอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากก็คือภัยร้ายจาก ‘แมลงก้นกระดก’ แมลงที่มีขนาดเล็กแต่กลับมีพิษมหาศาล เพราะเพียงแค่สัมผัสถูกพิษของแมลงชนิดนี้ ก็สามารถทำให้เกิดแผลพุพองขนาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ที่ไม่รู้ถึงความร้ายแรงในพิษของแมลงก้นกระดก มักกำจัดแมลงด้วยวิธีการปัดหรือบี้เหมือนแมลงทั่วไป แล้วมาพบกับอาการแสบคันในภายหลัง และในช่วงหน้าฝนนี้ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอีกเรื่องคือ เรื่องผิวของลูกน้อยเป็นผื่น...ปัญหาที่กวนใจคุณพ่อคุณแม่เป็นประจำ

แมลงก้นกระดก เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กที่พบได้มากในช่วงที่เข้าสู่ฤดูฝน มีขนาดเล็กประมาณ 4-7 มิลลิเมตร ลักษณะเฉพาะคือ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ ส่วนหัวกับส่วนหางเป็นสีดำ และส่วนท้องเป็นสีส้ม แมลงก้นกระดกชอบอาศัยอยู่ตามบริเวณที่อับชื้น เช่น กองหญ้า กองไม้ หรือกองมูลสัตว์ โดยแมลงชนิดนี้จะชอบบินเข้ามาอยู่บริเวณที่มีแสงสว่างและอาจตกลงอยู่บนพื้นบ้าน

พิษของแมลงก้นกระดก สารพิษของแมลงชนิดนี้ คือ เพเดอริน (Pederin) ซึ่งมีลักษณะเป็นกรดที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นคัน หรือแผลพุพอง ผิวหนังไหม้แดง ปวดแสบปวดร้อน บางรายอาจมีอาการรุนแรง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียนได้ และถ้าถูกพิษบริเวณดวงตา อาจทำให้ตาบอดได้

อาการ ปกติแล้วแมลงก้นกระดกจะไม่กัด แต่หากบังเอิญถูกแมลงไต่ตามร่างกายแล้วเราไปสัมผัสหรือบี้ทำให้ลำตัวของแมลงแตกหัก พิษในตัวจะถูกขับออกมาเป็นลักษณะของเหลวแล้วซึมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว

หลังจากสัมผัสถูกตัวแมลงก้นกระดกแล้ว จะยังไม่มีอาการผิดปกติ แต่ 6-12 ชั่วโมงผ่านไป บริเวณที่สัมผัสโดนแมลงก้นกระดกจะเริ่มมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน เริ่มเห็นเป็นผื่นแดง มีขอบเขตชัดเจน หรืออาจเริ่มกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เป็นรอยไหม้ ซึ่งถ้าหากโดนพิษที่ค่อนข้างรุนแรง เป็นแผลพุพอง แผลจะหายตกสะเก็ดได้ใน 7-10 วัน

การรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ล้างบริเวณที่สัมผัสแมลงก้นกระดกด้วยน้ำสะอาดทันที
  • ประคบเย็นหากมีอาการแสบร้อน
  • รับประทานยาแก้แพ้หากมีอาการคัน
  • ไม่สัมผัส แกะ หรือเกา บริเวณแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • ทายาสเตียรอยหากมีอาการอักเสบขั้นรุนแรง
  • ทานยา หรือทายาปฏิชีวนะ หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน

การป้องกัน

  • ปิดบ้านให้มิดชิดในยามค่ำคืน ปิดมุ้งลวดเพื่อป้องกันแมลงก้นกระดกเข้ามาในบ้านหรือที่นอน
  • ลดการใช้แสงสว่างในบ้านเนื่องจากแมลงก้นกระดกจะเข้ามาตามแสงสว่างเพื่อมาเล่นไฟ
  • ก่อนนอนควรตรวจเช็คบริเวณที่นอนของลูกน้อยเสมอว่าไม่มีแมลงก้นกระดกอยู่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวของแมลงก้นกระดก
  • ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว

การกำจัดแมลงก้นกระดก หากพบแมลงก้นกระดกไม่ควรจับหรือบี้แมลง ให้ใช้การเป่า หรือสะบัดแมลงออกไปให้ห่างจากตัว

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์

ซึ่งในช่วงหน้าฝนที่เชื้อราและแบคทีเรียเติบโตได้ดี ต้องอย่าชะล่าใจเรื่องผิวของลูกน้อยที่บอบบาง อาจเกิดผดผื่นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณก้น ควรเลือกใส่ผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ยาวนาน 9 ชม.(1) มาพร้อมขอบขาล็อก 2 ชั้น ป้องกันการรั่วซึม กระชับรับทุกสรีระ และหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมทุก ๆ 2-3 ชม. เพื่อความสบายตัวของลูกน้อย เราขอแนะนำ ‘ผ้าอ้อมเบบี้เลิฟ เดย์ไนท์ แพ้นท์’ สูตรใหม่!

สามารถตามไปช้อปผ้าอ้อมคุณภาพดี แบบสุดคุ้มทั่วไทยได้ที่ BabyLove Online Shop

(1)ระยะเวลาในการซึมซับขึ้นอยู่กับปริมาณปัสสาวะของลูกน้อยแต่ละคน

ติดตามเราได้ที่ :

Facbook Babylove Youtube Babylove IG Babylove subscribe

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.