ลูกหัวเราะบ่อยเกิน อย่าชะล่าใจ! อาจเสี่ยงเป็น ’เนื้องอกหัวเราะ’

ลูกหัวเราะบ่อยเกิน อย่าชะล่าใจ! อาจเสี่ยงเป็น ’เนื้องอกหัวเราะ’ ลูกหัวเราะบ่อยเกิน อย่าชะล่าใจ! อาจเสี่ยงเป็น ’เนื้องอกหัวเราะ’ ลูกหัวเราะบ่อยเกิน อย่าชะล่าใจ! อาจเสี่ยงเป็น ’เนื้องอกหัวเราะ’

คุณพ่อคุณแม่คงคาดไม่ถึงว่า บางครั้งการหัวเราะแบบไม่มีสาเหตุของลูกอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างได้ โดยปกติแล้วการหัวเราะของลูกนั้น คือการแสดงออกทางอารมณ์เมื่อลูกน้อยรู้สึกมีความสุข แต่ถ้าการหัวเราะของลูกน้อยนั้นไม่ได้เกิดจากความสุข ไม่ได้สัมพันธ์กับอารมณ์ หรือหัวเราะแบบไม่มีสาเหตุนั้นอาจเป็นสัญญาณของการชักรูปแบบหนึ่งได้ค่ะ และนอกจากโรคชักแบบหัวเราะ ที่ต้องคอยสังเกตให้ลูกน้อยแล้ว ก็ยังมีโรคอื่น ๆ ที่ต้องดูแล อย่างเช่นในช่วงหนาวนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง! 6 โรคยอดฮิตที่มาพร้อมลมหนาว โรคที่มากับฤดูกาลแบบนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเช่นกันค่ะ

มาต่อกันที่ การชักแบบหัวเราะ หรือ ทางการแพทย์เรียกว่า Gelastic seizure เป็นการชักแบบหนึ่งที่ลูกน้อยไม่ได้มีอาการเกร็งหรือกระตุกให้เห็น แต่จะมีอาการที่อยู่ ๆ ก็หัวเราะขึ้นมาเองโดยไม่มีสาเหตุ โดยจะหัวเราะเป็นช่วง ๆ ระยะเวลานานประมาณ 30 - 45 วินาทีต่อครั้ง และอาจตามมาด้วยการชักเกร็งกระตุกหรือเหม่อไม่รู้สึกตัว ในเด็กโตอาจบอกได้ว่ามีสัญญาณผิดปกติบางอย่าง เช่น ความรู้สึกแปลก ๆ นำมาก่อนจะเกิดการชักแบบหัวเราะ ซึ่งการชักแบบหัวเราะนั้นเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย พบได้โดยประมาณ 1:200,000 คน เท่านั้น โดยสามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนอายุ 20 ปี

สาเหตุของการชักแบบหัวเราะ นั้นเกิดจากการที่มีความผิดปกติของสมองในส่วนของไฮโปธาลามัส ลักษณะคล้ายเนื้องอก เรียกว่า Hypothalamic Harmatoma ซึ่งเป็นความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาการที่พบได้ในโรคนี้คือ

  • อาการชักแบบหัวเราะ
  • พัฒนาการช้าผิดปกติ
  • ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกที่ทำให้เกิดการชักแบบหัวเราะหรือไม่

  • การสังเกตอาการที่ผิดปกติของลูกน้อยจากคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง หากไม่มั่นใจอาจจะถ่ายวิดีโอแล้วนำมาปรึกษาแพทย์ได้ค่ะ
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อตรวจว่ามีอาการชักหรือไม่
  • ตรวจ MRI หรือคลื่นแม่เหล็กสมอง เพื่อหาว่ามีเนื้องอกที่ผิดปกติหรือไม่

การรักษาโรคชักแบบหัวเราะจากเนื้องอก Hypothalamic harmatoma

  • ควบคุมการชักด้วยยา ซึ่งในบางครั้งอาจคุมอาการชักได้ยาก อาจต้องใช้ยาร่วมกันหลายชนิด
  • ผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออกไป ช่วยให้หยุดชักได้ดีแต่อาจทำได้ยากลำบาก เพราะเป็นการผ่าตัดในสมองส่วนที่ค่อนข้างลึก
  • รักษาภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ด้วยการฉีดฮอร์โมน

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อย และยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถให้การรักษาได้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลใจมากจนเกินไปนะคะ การใช้การสังเกตลูกน้อยอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้สามารถพบอาการผิดปกติต่าง ๆ และไปพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงทีนั่นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์

ติดตามเราได้ที่ :

Facbook Babylove Youtube Babylove IG Babylove subscribe

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.