“คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกได้ ไม่ยากอย่างที่คิด”

“คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกได้ ไม่ยากอย่างที่คิด” “คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกได้ ไม่ยากอย่างที่คิด” “คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกได้ ไม่ยากอย่างที่คิด”

          จากการสัมภาษณ์คุณพ่อหลายๆ ท่านพบว่า สิ่งที่คุณพ่อรู้สึกว่ายากที่สุดในการเลี้ยงลูกคือ ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร? ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดที่ถูกบ่มเพาะจากสังคมว่าผู้ชายมีหน้าที่ทำงานหาเงินเป็นช้างเท้าหน้า ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่เลี้ยงลูกทำงานบ้านเป็นช้างเท้าหลัง แต่โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว ทุกวันนี้ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น อัตราการเพิ่มของคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวและคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวมีสูงขึ้น ที่น่าสนใจคือปรากฏการณ์ที่บรรดาคุณพ่อหันมาให้ความสำคัญกับการช่วยเลี้ยงลูก สังเกตได้จากหลากหลายเพจในสื่อเฟซบุ๊คหรือเว็บไซต์ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่บอกเล่าเรื่องราวของคุณพ่อกับบทบาทการเลี้ยงลูกแบบเต็มตัวและเต็มใจ ซึ่งช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าคุณพ่อก็ช่วยเลี้ยงลูกได้ไม่ยากเลย

  • ทำความเข้าใจ การเลี้ยงลูกนั้นเป็น “งานกลุ่ม” ของครอบครัว ทุกคนต้องช่วยกัน คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกันให้ดีว่าใครควรมีบทบาทหน้าที่อะไร แบ่งงานกันไปตามความเหมาะสม พูดคุยเพื่อวางแผนจัดระบบภายในบ้านให้ลงตัว บางกรณีที่คุณแม่มีความเหมาะสมที่จะออกไปทำงานหารายได้ให้ครอบครัวมากกว่า บทบาทดูแลลูกแบบฟูลไทม์ก็สามารถตกเป็นของคุณพ่อได้เช่นกัน ทุกบทบาทหน้าที่มีความสำคัญและมาพร้อมกับความรับผิดชอบทั้งนั้นค่ะ
  • ทำได้ทุกอย่าง ในการเลี้ยงทารก คงมีแค่เรื่องให้นมจากเต้าเท่านั้นที่คุณพ่อทำไม่ได้ นอกนั้นคุณพ่อทำได้หมดไม่แพ้คุณแม่ค่ะ ค่อยๆเรียนรู้ไป หมั่นหาความรู้ในการเลี้ยงลูกจากหนังสือ หรือจากเว็บไซต์ต่างๆ เริ่มจากปรับบทบาทเป็นลูกมือให้คุณแม่ คอยบริการช่วยหยิบของให้ หรือแม้กระทั่งทำหน้าที่ช่วยเลี้ยงลูกยามที่คุณแม่ป่วย
  • ทำเพื่อเราทุกคน เคล็ดลับในการช่วยเลี้ยงลูกนั้น แท้จริงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรักษาความสัมพันธ์ในชีวิตคู่นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมอบความรักความเข้าใจ คอยดูแลเป็นห่วงเป็นใย เอาใจเขามาใส่ใจเรา ในกรณีที่คุณแม่เหนื่อยจากการเลี้ยงลูกอ่อนแบบ 24 ชั่วโมง คุณพ่อก็สามารถช่วยเลี้ยงลูกได้เช่นกัน

คู่มือฉบับย่อคุณพ่อมือใหม่เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด -  6ขวบ

ช่วงวัย > ทารกแรกเกิด – 6 เดือน :

ช่วงวัยนี้อาหารหลักที่สำคัญคือนม นอกจากนี้ การรักษาความสะอาดและปลอดภัยก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ช่วงเลี้ยงลูกอ่อนนี้เป็นช่วงที่สมาชิกทุกคนในบ้านต้องปรับตัวกันขนานใหญ่

โภชนาการ :

  • อำนวยความสะดวกให้คุณแม่เวลาให้นม ทั้งตอนอยู่ที่บ้านและนอกบ้าน
  • ดูแลโภชนาการของคุณแม่
  • ทำความสะอาดภาชนะต่างๆ เช่น ขวดนม จุกนม
  • ชงนม ป้อนนม จับเรอ

สภาพแวดล้อม :

  • ซักผ้าอ้อม และจัดหาผ้าอ้อมให้เหมาะสมตามต้องการ
  • ซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอนปลอกหมอน
  • ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ของลูก เช่น ของเล่น เสื้อผ้า
  • ดูแลรักษาบ้านให้สะอาดเรียบร้อย
  • รักษาสุขอนามัยของตัวเอง ก่อนอุ้มลูกหรือสัมผัสลูกควรล้างมือหรือทำความสะอาดร่างกายก่อนทุกครั้ง

ร่างกายและพัฒนาการ :

  • ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดก้น
  • ช่วยอาบน้ำทำความสะอาดลูกน้อย
  • พาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด
  • ช่วยสลับอุ้มลูกพาลูกไปเดินเล่น หรือช่วยบริหารร่างกายให้ลูกน้อยให้เหมาะสมตามวัย

จิตใจและอารมณ์

  • เล่นกับลูกให้เหมาะกับพัฒนาการตามวัย
  • ร้องเพลงหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง
  • กล่อมลูกเข้านอน
  • สร้างบรรยากาศและอารมณ์ที่ดี
  • มีอารมณ์ขัน

 

ช่วงวัย > 6 เดือน – 3 ขวบ

ช่วงวัยนี้ลูกเริ่มเปลี่ยนจากนอนเฉยๆ มาเป็นคืบคลาน ไปจนถึงหัดยืนและเดิน รวมถึงเริ่มทานอาหารชนิดอื่นนอกจากนม และเปลี่ยนจากนมเป็นอาหารหลักสามมื้อตามวัย นอกจากนี้ เด็กน้อยในวัยนี้จะเริ่มหัดพูดหัดสื่อสารแล้วด้วย คุณพ่อคุณแม่จะเหนื่อยขึ้น จากบทบาทหน้าที่ที่ปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับพัฒนาการและการเติบโตของลูก

โภชนาการ :

  • อำนวยความสะดวกให้คุณแม่เวลาที่ทำอาหารเสริม
  • ช่วยจ่ายตลาดซื้อเสบียงอาหาร
  • ป้อนนม ป้อนอาหาร จับเรอ
  • เตรียมอาหารให้พร้อมตามเวลา และเหมาะสมกับวัยของลูก เช่น อาหารบดหยาบ บดละเอียด
  • เริ่มสร้างวินัยในการรับประทานอาหารให้ลูก เช่น ป้อนอาหารเป็นเวลา 

สภาพแวดล้อม :

  • ซักผ้าอ้อม และจัดหาผ้าอ้อมให้เหมาะสมตามต้องการ
  • ซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอนปลอกหมอน
  • ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ของลูก เช่น ของเล่น เสื้อผ้า
  • ดูแลรักษาบ้านให้สะอาดเรียบร้อย
  • รักษาสุขอนามัยของตัวเอง ก่อนอุ้มลูกหรือสัมผัสลูกควรล้างมือหรือทำความสะอาดร่างกายก่อนทุกครั้ง

ร่างกายและพัฒนาการ :

  • ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดก้น
  • ช่วยแปรงฟัน อาบน้ำให้ลูก
  • เริ่มสอนลูกให้บอกหรือส่งสัญญาณเมื่อขับถ่าย
  • พาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด
  • ฝึกบริหารร่างกายให้ลูกตามวัยที่เหมาะสม เช่น ฝึกคลาน ฝึกยืน ฝึกเดิน
  • พาลูกไปเดินเล่น หรือออกกำลังกาย
  • จัดหาของเล่นและชวนทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ เช่น บล็อกไม้ ปั้นดินน้ำมัน ฯลฯ

จิตใจและอารมณ์

  • เล่นกับลูกให้เหมาะกับพัฒนาการตามวัย
  • สอนพูดคำสั้นๆ หรือบทสนทนาง่ายๆ
  • เริ่มสอนระเบียบวินัยและการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ร้องเพลงหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง
  • กล่อมลูกเข้านอน
  • สร้างบรรยากาศและอารมณ์ที่ดี
  • มีอารมณ์ขัน

 

ช่วงวัย > 2 – 6 ขวบ :

ลูกเริ่มพูดคุยสื่อสารได้เก่งขึ้น เดินวิ่งคล่องขึ้น เริ่มแสดงตัวตนที่ชัดเจน มีความเป็นตัวเองซึ่งรวมถึงอาการดื้อรั้น และซุกซนมากขึ้น รับประทานอาหารได้มากและหลากหลายขึ้น  เริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับโลกและสังคมรอบตัวที่นอกเหนือจากคนในครอบครัวมากขึ้น 

โภชนาการ :

  • อำนวยความสะดวกให้คุณแม่ในการทำอาหาร เช่น ช่วยจัดเตรียม หรือช่วยดูแลลูกเพื่อให้คุณแม่มีเวลาไปเตรียมอาหาร หรือาจสลับบทบาทหน้าที่กัน คุณพ่อเป็นฝ่ายเข้าครัวก็ได้
  • ช่วยจ่ายตลาดซื้อเสบียงอาหาร
  • จัดเตรียมอาหารให้พร้อมตามเวลา และ
  • สร้างวินัยในการรับประทานอาหารให้ลูก เช่น รับประทานอาหารพร้อมกันเป็นเวลา หรือสอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร

สภาพแวดล้อม :

  • สร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย
  • ระมัดระวังอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นภายในบ้าน เช่น ปลั๊กไฟ บันได 
  • เริ่มสอนลูกให้ระวังอันตรายจากคนแปลกหน้า หรืออุบัติเหตุจากการเล่นนอกบ้าน
  • ไม่ปล่อยลูกให้คลาดสายตาเมื่อออกนอกบ้าน
  • ก่อนถอยรถเข้าออกรั้วบ้านต้องตรวจสอบทุกครั้งว่าลูกไม่อยู่ในเส้นทาง

ร่างกายและพัฒนาการ :

  • เริ่มสอนและปลูกฝังสุขอนามัยพื้นฐานให้ลูก เช่น การแปรงฟัน อาบน้ำ ดูแลความสะอาดให้ร่างกาย การรักษาสุขภาพเบื้องต้น
  • ฝึกลูกขับถ่ายที่กระโถนหรือห้องน้ำ
  • พาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด
  • ชวนลูกออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่งไล่จับ ขี่จักรยาน เตะฟุตบอล
  • จัดหาของเล่นและชวนทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ เช่น วาดรูป ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน เล่นบทบาทสมมุติฯลฯ

จิตใจและอารมณ์

  • สอนพูดคำสั้นๆ หรือบทสนทนาต่างๆ เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
  • ปลูกฝังระเบียบวินัยและการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อดูแลตัวเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
  • เล่านิทาน อ่านหนังสือ และเล่นกับลูกเป็นประจำ
  • สร้างบรรยากาศและอารมณ์ที่ดีภายในบ้าน
  • เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการจัดการกับอารมณ์และสถานการณ์ต่างๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaichilddevelopment.com  และ http://www.bellybelly.com.au

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.