กระแสคลอดธรรมชาติเริ่มมาแรง อาจทำให้คุณแม่หลายคนอยากคลอดเองตามธรรมชาติมากขึ้น แต่ก็มีหลากหลายความเชื่อหรือเรื่องที่ฟัง ต่อ ๆ กันมาทำให้คุณแม่หลายคนชักไม่แน่ใจว่าจะเชื่อเรื่องไหนดี วันนี้คุณหมอจะพาไปดูตัวอย่างที่พบบ่อยว่าเรื่องไหนจริงหรือเรื่องไหนไม่จริงกัน ซึ่งก็มีเรื่อง “ความแตกต่างระหว่างการผ่าคลอด และการคลอดเองธรรมชาติ” ที่คุณแม่สามารถไปอ่านต่อเพิ่มเติมได้ ถ้าพร้อมแล้วไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการคลอดเองตามธรรมชาติกันเลย
- เบบี๋ไม่กลับหัว คลอดเองไม่ได้
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริง เพราะ ธรรมชาติกำหนดให้ท่าที่ทารกเอาหัวลง สามารถคลอดได้โดยง่าย ขณะที่ทารกที่ไม่กลับหัวอาจเอาก้น แขนไหล่ หรือหลังเป็นส่วนนำออกมา ซึ่งทำให้คลอดยาก และต้องผ่าตัดคลอดเกือบทั้งหมด มีเพียงทารกที่จะคลอดท่าก้นแค่บางรายที่พอจะมีโอกาสคลอดเองได้ - รกเกาะต่ำ คลอดเองไม่ได้
เป็นเรื่องจริง เพราะการที่รกเกาะต่ำนั้นหมายถึงการที่รกมาขวางทางคลอด ทำให้เจ้าตัวน้อยคลอดออกมาไม่ได้ และการปล่อยให้เกิดกระบวนการคลอดธรรมชาติจะเพิ่มความเสี่ยงการตกเลือดของคุณแม่ ดังนั้นหากพบภาวะรกเกาะต่ำ วิธีคลอดที่เหมาะสมก็คือการผ่าคลอดนั่นเอง - ทารกตัวใหญ่ ห้ามคลอดธรรมชาติ
ไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป เพราะถึงแม้ขนาดเจ้าตัวน้อยมีผลต่อโอกาสในการคลอดเองตามธรรมชาติแต่ก็ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่มีผลต่อการคลอดได้หรือไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดเชิงกรานของคุณแม่ ซึ่งหากไม่เหมาะสม แม้ทารกตัวเล็ก ก็อาจจะคลอดไม่ได้ หรือคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดยาก อย่างไรก็ตามทารกที่ขนาดตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม มีโอกาสคลอดตามธรรมชาติไม่ได้มากกว่าทารกที่ขนาดตัวเล็กกว่า ดังนั้นหากตรวจพบว่าทารกตัวโต แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลถึงโอกาสที่จะคลอดธรรมชาติสำเร็จด้วยเสมอ - คลอดธรรมชาตินั้นเจ็บปวดมาก
เป็นเรื่องจริง แต่…เป็นเรื่องที่คุณแม่ทนเพื่อเจ้าตัวน้อยได้ ซึ่งก็มีการเปรียบเปรยว่าการคลอดเองเป็นความเจ็บปวดมากที่สุดของมนุษย์เพศหญิง อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่เคยมีคุณแม่ท่านไหนทนการคลอดธรรมชาติไม่ได้ ส่วนใหญ่คุณแม่มักจะพูดเหมือน ๆ กันว่า "เจ็บที่สุด แต่ก็มีความสุขที่สุดเช่นกันพอได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อย" - เคยผ่าคลอดมา... คลอดธรรมชาติไม่ได้
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริง เพราะการผ่าคลอดทำให้เกิดแผลเป็นที่มดลูกและการคลอดธรรมชาติอาจทำให้แผลเป็นปริแตกได้ โดยทั่วไปจึงแนะนำผ่าคลอดซ้ำในคุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาก่อน อย่างไรก็ตามยังมีคุณแม่จำนวนหนึ่งที่สามารถคลอดธรรมชาติภายหลังการผ่าคลอดได้ เพียงแต่ต้องมีเงื่อนไขบางอย่างและอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด - ครรภ์แฝด ห้ามคลอดธรรมชาติ
ไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป เพราะ ครรภ์แฝดที่สามารถคลอดธรรมชาติได้คือ ครรภ์แฝดที่เบบี๋มีท่ากลับหัวทั้ง 2 คน ขณะที่ครรภ์แฝดลักษณะอื่น ๆ มักจะคลอดยากและจบลงด้วยการผ่าคลอด
ธรรมชาติได้ออกแบบให้คุณแม่ส่วนใหญ่คลอดได้เองตามธรรมชาติสูงถึงร้อยละ 80 และการคลอดธรรมชาติมีข้อดีที่เห็นได้ชัดอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
- การฟื้นตัวเร็วมาก ใช้เวลาแค่เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด สตรองสุด ๆ
- แผลฝีเย็บจะเจ็บน้อยกว่าแผลผ่าคลอดมากหรือบางรายอาจไม่มีแผลเลยด้วยซ้ำ
- เริ่มให้นมแม่ได้เร็วและน้ำนมมาเร็วกว่าการผ่าคลอด ส่งผลให้คุณแม่สามารถเริ่มเลี้ยงเจ้าตัวน้อยได้ทันทีหลังคลอด ซึ่งจะมีปัญหาเดียวของการคลอดธรรมชาติ นั่นก็คือ ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ทั้งการเข้าสู่การคลอดและเวลาคลอด ดังนั้นจึงไม่อาจกำหนดฤกษ์เพื่อตอบสนองคุณแม่สายมูได้
เมื่อคุณแม่เลือกวิธีการคลอดธรรมชาติ จะต้องใช้เวลาผ่านกลไกโดยธรรมชาติที่ทำให้ปากมดลูกเปิดจนหมดจาก 0-10 เซนติเมตร ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะรอคลอด คือ ระยะที่ปากมดลูกเริ่มเปิดจาก 0-4 เซนติเมตร มดลูกเริ่มบีบตัวถี่ขึ้น คุณแม่บางรายอาจมีน้ำเดินหรือมูกเลือดร่วมด้วย ระยะนี้จะกินเวลาค่อนข้างนานหลายชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์เลยทีเดียว
- ระยะเร่งคลอดที่ปากมดลูกเปิดจาก 4-10 เซนติเมตร ระยะนี้มักคุ้นหูว่าเป็นระยะเร่งคลอด เพราะปากมดลูกจะเปิดอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กับมดลูกที่บีบตัวแรงขึ้น ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- ระยะเบ่งคลอด เมื่อปากมดลูกเปิดถึง 10 เซนติเมตร คุณแม่จะเริ่มรู้สึกอยากเบ่ง เพื่อให้หัวลูกเคลื่อนออกมาอย่างช้า ๆ ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมง ถึง 2 ชั่วโมง
ทั้ง 3 ระยะจะใช้เวลาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนการตั้งครรภ์ของคุณแม่ด้วย โดยคุณแม่มือใหม่ท้องแรกจะใช้เวลานานที่สุดและจะค่อย ๆ น้อยลงเมื่อจำนวนการตั้งครรภ์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมเสมอสำหรับการคลอด ได้แก่ หมั่นสังเกตอาการที่เข้าสู่ระยะคลอด วางแผนการเดินทางและเส้นทางไปโรงพยาบาล และเตรียมข้าวของเครื่องใช้และเอกสารสำคัญต่าง ๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ
ในระยะหลังคลอด คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ แทบไม่ต้องมีเรื่องกังวลใด ๆ เพราะร่างกายจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ในชั่วข้ามคืนเลยทีเดียว อาจจะมีเจ็บแผลฝีเย็บบ้างเล็กน้อย ซึ่งบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล และสามารถใช้ชีวิตประจำวันและรับประทานอาหารได้ตามปกติ เริ่มให้นมเจ้าตัวน้อยได้ รวมทั้งสามารถเรียนรู้วิธีการดูแลลูกน้อยจากคุณพยาบาล เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว การฝึกใส่ผ้าอ้อมแบบเทปและใช้ผ้าพันตัวเจ้าตัวน้อย เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทันทีในวันรุ่งขึ้นโดยไม่ต้องรอการฟื้นตัวเหมือนการผ่าคลอด และมักจะนอนโรงพยาบาลในระยะสั้น ๆ ประมาณ 2-3 วันก็สามารถกลับบ้านได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการคลอดเองนั้นมีข้อดีมากมายทั้งต่อคุณแม่และคุณลูก และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ใคร ๆ เค้าเชื่อกัน
.
ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอตั้ว (นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์)
.
ส่วนคุณแม่ท่านไหนที่ใกล้คลอด อย่าลืมพกของใช้จำเป็นที่ต้องมีติดกระเป๋าไปให้เบบี๋แรกเกิดที่ผิวบอบบางใส่ อย่าง ผ้าอ้อมเบบี้เลิฟ อีซี่เทป ที่มีเทคโนโลยีทริปเปิ้ลล็อก 3 ขั้น(2) ช่วยป้องกันการรั่วซึมรอบด้าน และซึมซับดียาวนาน 10 ชม.(1) ที่สำคัญยังผ่านการทดสอบ ไฮโปอัลเลอร์เจนิก ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้(3) เป็นคุณแม่มือใหม่แค่ไหนก็อุ่นใจ เมื่อลูกไกลแพ้ สามารถช้อปผ้าอ้อมคุณภาพดี แบบได้ส่วนลดและของแถมฟรีที่ BabyLove Online Shop คลิก
(1) ระยะเวลาการซึมซับขึ้นอยู่กับปริมาณปัสสาวะของลูกน้อยแต่ละคน โดยเปรียบเทียบภายในกลุ่มสินค้าเบบี้เลิฟเท่านั้น
(2) แผ่นซึมซับ ขอบขาตั้ง และยางยืดโอบกระชับรอบตัว ป้องกันการรั่วซึม
(3) ไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคืองในกลุ่มทดลอง จากผลการทดสอบ โดยบริษัท Dermscan Asia ประเทศไทย ยกเว้นการแพ้ หรือการระคายเคืองส่วนบุคคล และไม่รวม ถึงการแพ้เนื่องจากการใส่ผ้าอ้อมเป็นระยะเวลานาน หาก เป็นการแพ้ระคายเคืองส่วนบุคคลแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
วันที่สร้าง 25/12/2023