ลูกน้อยสุขภาพดีด้วยอาหารหลากสี

ลูกน้อยสุขภาพดีด้วยอาหารหลากสี ลูกน้อยสุขภาพดีด้วยอาหารหลากสี ลูกน้อยสุขภาพดีด้วยอาหารหลากสี

การปรุงอาหารให้ลูกน้อยนั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารที่ต้องให้มีครบถ้วนทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ผักและผลไม้แล้ว การทำให้อาหารนั้นมีสีสัน น่ารับประทานนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความสนใจและความอยากรับประทานอาหารของลูกน้อยให้มากขึ้นแล้ว สีสันต่างๆจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพืชผักผลไม้ยังล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพของลูกน้อย สีแต่ละสีก็ให้คุณประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป

1. สีเขียว ได้แก่ ตำลึง ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ปวยเล้ง อโวคาโด แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง

สีเขียวของพืชเหล่านี้เกิดจากเม็ดสีของ คลอโรฟิลด์  มีคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีกากใยสูงช่วยในการขับถ่ายของลูกได้เป็นอย่างดี ลดอาการท้องผูก 

​2. สีแดง ได้แก่ มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ บีทรูท เชอรี่ แตงโม ฝรั่งสีชมพู กระเจี้ยบแดง แก้วมังกรสีแดง

สีแดงของพืชเหล่านี้เกิดจากสาร ไลโคปีน และ เบตาไซซีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนังและช่วยบำรุงสายตา

3. สีเหลืองและส้ม ได้แก่ ฟักทอง แครอท มะละกอ ส้ม มะนาว สับปะรด  มันเทศ ขนุน เสาวรส และ ข้าวโพด

สีเหลืองของพืชเหล่านี้เกิดจากสารที่ชื่อว่า ลูทีน อยู่มาก ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงกับดวงตา มีส่วนช่วยในการพัฒนา การมองเห็นในเด็กเล็ก สำหรับผักและผลไม้ที่มีสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยให้ผิวพรรณสดใส รักษาความชุ่มชื่นให้ผิว ช่วยส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งผักและผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองและส้ม

4. สีม่วงและม่วงอมน้ำเงิน ได้แก่ มะเขือสีม่วง ลูกแบล็คเบอรี่ บลูเบอรี่ ดอกอัญชัน กะหล่ำปลีสีม่วง มันเทศสีม่วง และหอมแดง

สีม่วงของพืชเหล่านี้เกิดจากเกิดจากสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสียและต้านไวรัสได้

5. สีขาวจนถึงน้ำตาล ได้แก่ ลูกเดือย หัวไชเท้า ถั่วเหลือง ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก และงาขาว กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง ลิ้นจี่ ละมุด แห้ว

สีขาวและสีน้ำตาลของพืชเหล่านี้เกิดจากสาร แซนโทน ช่วยลดอาการอักเสบ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 

เพราะผักและผลไม้มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก การฝึกให้ลูกเป็นเด็กที่ทานผักได้ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มจากผักที่ทานได้ง่าย ไม่มีรสขม ไม่มีกลิ่นฉุน ฝึกให้ทานตั้งแต่เมื่อลูกยังเล็กให้ในอาหารทุกๆมื้อของลูกมีผักเป็นส่วนประกอบทุกครั้ง

โดยอาจเริ่มจากใช้ผักที่มีกากน้อยและเลือกเฉพาะผักใบมาต้มให้เปื่อยแล้วบดให้ละเอียดกับข้าว  เมื่อลูกโตมากขึ้น จึงหั่นผักเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อให้ลูกได้ฝึกเคี้ยว เลือกผักที่มีสีสัน เพื่อให้ลูกเกิดความสนใจอยากจะทานผักในมื้ออาหาร เพียงเท่านี้ลูกก็จะสามารถทานผักได้ดีและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ติดตามเราได้ที่ :

Facbook Babylove Youtube Babylove IG Babylove subscribe

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.