ในช่วง 1-3 เดือนแรกหลังคลอด เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดยังคงปรับตัวอยู่ทั้งฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และตารางชีวิตแต่ละวันที่เปลี่ยนไป ทั้งการดูแลลูกน้อย การทานอาหาร การพักผ่อน ช่วงแรกจึงเป็นช่วงที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูร่างกายในระยะหลังคลอดให้แข็งแรงขึ้นก่อนในช่วงสามเดือนแรก และยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะออกกำลังกายอย่างหักโหมเพื่อฟิตหุ่น ในทางกลับกันช่วงนี้เป็นช่วงที่ควรตักตวงหาเวลาพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
พอผ่านพ้นช่วงระยะหลังคลอดมาได้สัก 3-4 เดือนไปแล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มน้ำหนักลงไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีหน้าท้องและส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ยังดูไม่กระชับ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายฟื้นฟูให้หน้าท้องฟิต กระชับ เล็กลง วันนี้ครูก็เลยนำท่าบริหารร่างกายง่ายๆ แต่ได้ผลดีเยี่ยมสำหรับการฟิตหน้าท้องและรูปร่าง ที่สำคัญคือ ปลอดภัย ไม่ต้องใช้เวลามากในแต่ละวัน มาฝากคุณแม่หลังคลอดตั้งแต่ 4 เดือนไปแล้วค่ะ
ท่าที่ 1 การฝึกหายใจแบบผูกเชือกหน้าท้อง เพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
หมายเหตุ ท่านี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่มีอันตรายหรือข้อควรระวังใดๆ
ท่าที่ 2 ท่านั่งเก้าอี้แบบพิงกำแพง เพื่อกระชับหน้าท้องและช่วงล่าง
หมายเหตุ ท่านี้อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเข่า
ท่าที่ 3 ท่าสะพาน เพื่อกระชับก้นและอุ้งเชิงกราน
ประโยชน์ของท่านี้ ช่วยให้อุ้งเชิงกรานแข็งแรง สะโพกไม่หย่อนคล้อย หน้าท้องก็แข็งแรงด้วย ที่สำคัญหากฝึกเป็นประจำจะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะเล็ดกะปริดกะปรอย หรือ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หลังคลอด
หมายเหตุ ในช่วงแรกๆ หากค้างท่ายังไม่ไหว ยังไม่มีความแข็งแรงพอ ให้ใช้การทำแบบขึ้นและลงสลับไปมา 5-10 ครั้งต่อเซ็ตแทนการค้างท่า
ท่าที่ 4 ท่ายืดเพื่อผ่อนคลายต้นคอ บ่าไหล่ จากการอุ้มลูกให้นม
ประโยชน์ของท่านี้ จะช่วยคลายความตึงของหัวไหล่ที่งุ้มมาทางด้านหน้าจากเวลาที่แม่อุ้มให้นมเป็นประจำ ส่งผลให้บ่าไหล่เกิดอาการล้าและตึง หากปล่อยไว้นานๆ อาจส่งผลไปถึงอาการปวดหัว หรือ ปวดหลังได้ นอกจากการผ่อนคลายแล้ว การยืดบ่าไหล่เป็นประจำจะช่วยให้การหายใจลึกขึ้น การนำพาออกซิเจนไปให้ร่างกายก็จะดีขึ้น อันมีผลต่อการลดน้ำหนักและการเผาผลาญไขมันสะสมของคุณแม่หลังคลอดด้วย
การลดน้ำหนักหรือเปลี่ยนรูปร่างหลังคลอดไม่ใช่เรื่องที่ยาก ขอเพียงแต่มีวินัยในการออกกำลังกายทุกๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ น้ำหนักหลังคลอดก็จะค่อยๆ ลงมาอย่างช้าๆ ในระยะเวลาไม่นาน โดยไม่หักโหมไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือรบกวนฮอร์โมนในร่างกายที่มีผลต่อการให้นมของคุณแม่ด้วยค่ะ
หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงแนวทางในการเล่นโยคะ หากมีอาการผิดปกติ หรือเจ็บป่วยจากการออกกำลังกายให้หยุด และปรึกษาแพทย์
บทความโดย ครูหนิง (ธิญาดา คอนเควส์) ผู้ก่อตั้ง Enjoy Yoga Studio และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายสำหรับแม่ตั้งครรภ์ไปจนหลังคลอด
บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
© 2016 DSG International (Thailand) PLC. All rights reserved.